Shoujo Shin'iki~Shoujo Tengoku -The Garden of Fifth Zoa- World Encyclopedia

posted on 8/20/2560 10:27:00 หลังเที่ยง by VermillionEnd Categories:
เนื้อหาด้านล่างเผยแพร่ครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2013 ที่ http://vermillionend.exteen.com


  สวัสดีครับ ผมแปลหนังสืออภิธานศัพท์ของเกม Shoujo Shiniki ~ Shoujo Tengoku-The Garden of Fifth Zoa- มาล่ะครับ (จริงๆ แปลเสร็จตั้งแต่วันที่ 20 แล้ว แต่กะจะเก็บไว้ใช้สำหรับอัพบล็อกตอนต้นเดือน) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีให้ download ฟรีในเว็บหลัก เพราะแบบนั้นผมเลยคิดว่าเรื่องที่ผมเอามาแปลนี่คงไม่มีปัญหาอะไร(มั้ง)

  งานนี้เป็นงานที่ยากที่สุดเท่าที่เคยทำมาเลยล่ะครับ ไม่ใช่เรื่องความเยอะ แต่เป็นเรื่องที่มีศัพท์เฉพาะทางอย่างพวก ปรากฏการณ์ Pyroclastic flow, มณฑลกวางตุ้ง, เทศกาลโทริโนะอิจิ ฯลฯ อยู่เยอะมาก กว่าจะทำความเข้าใจได้นี่ยากพอตัวเลยล่ะครับ โชคดีอย่างก็คือมี Text มาให้ไม่ต้องแกะเอง แต่งานที่ยากก็คืองานที่ยากอยู่ดี งานนี้ถ้าไม่มี สิ่งนั้น นี่ผมคงไม่มีกำลังใจแปลจนจบแน่นอน เพราะแบบนั้น Entry นี้ผมขอให้ท่านใช้วิจารณญาณในการอ่านมากกว่า Entry อื่นนะครับ มีคำที่ผมทับศัพท์ไปเยอะเหมือนกัน ทั้งคำที่ไม่เข้าใจและคำที่หาคำที่เหมาะสมมาแทนไม่ได้

  ข้อความในวงเล็บที่เป็นสีดำคือข้อความที่อยู่ในวงเล็บตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ส่วนข้อความในวงเล็บที่เป็นสีเทา คือข้อความอธิบายที่ผมใส่เพิ่มไปเอง

  สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ คุณ Big Eye ที่ช่วยคิดชื่อ entry ภาษาอังกฤษให้ครับ ส่วนเกมนี้ผมคงไม่ได้เล่นในเร็วๆ นี้แน่นอน Hapymaher ผมยังเล่นไม่ไหวเลย แล้วนับประสาอะไรกับเกมค่าย Lass




คำเตือน : เกิน 25% เป็นการดำน้ำ
แปลมาจาก Official Web Site (Lass)

少女神域∽少女天獄  -The Garden of Fifth Zoa-
Shoujo Shin'iki ~ Shoujo Tengoku  -The Garden of Fifth Zoa-
เขตแดนศาลเจ้าของหญิงสาว ~ พันธนาการสวรรค์ของหญิงสาว  -สวนแห่งเขตบดบังชั้นที่ห้า-

-หนังสืออภิธานศัพท์-





“Shoujo Shin'iki ~ Shoujo Tengoku” คือเรื่องราวของเหล่าผู้คนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกทรรศน์ที่เกิดขึ้นมาจากการประสานกันของด้ายสองเส้น โดยมีประวัติศาสตร์ที่รับสืบทอดมาจากอดีตอันไกลโพ้นกับเรื่องราวที่เพิ่มพูนขึ้นเป็นด้ายแนวตั้ง และมีผืนดินที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่เวลาผ่านไปเป็นด้ายแนวนอน

ด้วยโครงสร้างฉากของเรื่องที่มีความซับซ้อนมาก ทำให้การรับรู้เรื่องราวเพียงแค่ผิวเผินนั้นไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องส่วนลึกที่ซับซ้อนได้

เพราะแบบนั้น ก็เลยได้นำรายละเอียดในส่วนนั้นมาให้ดูตรงนี้ และด้วยข้อมูลโครงสร้างของเรื่องราวอันนี้ คิดว่าอาจจะทำให้นักอ่านทุกท่านสนใจผลงาน “Shoujo Shin'iki ~ Shoujo Tengoku” ก็เป็นได้ครับ




ทาคางิ ชุน เด็กนักเรียนมหาวิทยาลัย ได้เดินทางกลับบ้านเกิดมาด้วยกันกับเพื่อนสมัยเด็ก

เมืองไคโจว------บ้านเกิดของพวกเขาที่ตั้งอยู่ในแอ่งภูเขาไฟนั้นเป็นเมืองที่มีภูมิประเทศแปลกตา
ไม่ใช่แค่ภูมิประเทศแปลกตาเท่านั้น ยังมีกำแพงหินที่ทอดยาวออกไปราวกับจะล้อมรอบเมืองเอาไว้อีกด้วย

ถ้ามองจากภายนอกแล้วจะเห็นเป็นป้อมปราการหิน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมือง
แต่สำหรับชุนที่เติบที่นั่นแล้ว
ในวัยเด็ก เขารู้สึกว่ามันเหมือนเป็นคุกหินที่ขังตัวเองเอาไว้

ไปให้ถึงจุดสิ้นสุดของถนนที่ทอดยาวออกไปในเมือง------
ใฝ่ฝันไว้ตั้งแต่เด็กว่าจะต้องลอดผ่านอุโมงค์ออกไป
ชุนที่ปรารถนาโลกภายนอกมาตลอดนั้น
สามารถออกจากบ้านเกิดไปเข้ามหาวิทยาลัยได้ราวกับเป็นเรื่องธรรมดา
ความฝันกลายเป็นจริงได้ง่ายดายกว่าที่ตัวเขาคิดไว้มาก

และหลังจากนั้น เวลาหนึ่งปีก็ได้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว มาถึงช่วงที่ฤดูใบไม้ผลิจะมาเยือน

บ้านเกิดของพวกเขาที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นั้น
มีการจัดงานเทศกาลที่ชื่อ เทศกาลเซย์โคว
นั่นเป็นงานเทศกาลของ ศาลเจ้าที่ตระกูลของชุนคอยรับหน้าที่ช่วยสนับสนุนดูแลมาหลายชั่วอายุคน
ว่ากันว่าในปีนี้จะมีการจัดพิธีกรรมพิเศษที่จะจัดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบยี่สิบปีอีกด้วย
ซานะ น้องสาวของชุนกับพวกเพื่อนสมัยเด็ก
พวกเธอก็ได้รับหน้าที่สำคัญในพิธีกรรมด้วยเช่นกัน                                                                                                          
ชุนเองก็รู้สึกได้ถึงแรงกดดันว่าต้องกลับบ้านเกิดแต่ว่า......

ปีนี้จะพยายามเต็มที่ในฐานะมิโกะ ต้องกลับไปด้วยกันให้ได้นะ !”

เพื่อนสมัยเด็กที่เรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกันและยังอุตส่าห์แนะนำที่พักให้
โอคุชิโระ ยูกินั้นได้หยุดเขาไว้ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม โดยไม่ถามซักคำเลยว่าจะกลับหรือไม่กลับ
เธอเองก็ได้รับหน้าที่สำคัญใน เทศกาลเซย์โควปีนี้เช่นเดียวกับซานะ------
ถูกเลือกไปเป็นหนึ่งในมิโกะที่จะมาระบำคางุระ

ด้วยเหตุนี้ ชุนก็เลยกลับมาเหยียบบ้านเกิดหลังจากที่ไม่ได้กลับมา 1 ปี
แล้วก็ได้เห็นสึคามิเนะ มิโอริยืนอยู่บนชานชาลาของสถานีพร้อมกับใบหน้าที่เศร้าสร้อย
ในตอนเด็ก เพราะมิโอริมีนิสัยเหมือนผู้ชาย ก็เลยไปเล่นด้วยกันกับเด็กผู้ชายอยู่บ่อยๆ
แต่พอมาถึงช่วงหนึ่งก็ได้ห่างเหินกันไป
ถึงแม้ว่าสิ่งที่ได้เห็นจะเป็นแค่ชั่วพริบตาเดียว
แต่ใบหน้าที่เศร้าสร้อยนั้นก็ยังคงตราตรึงอยู่ในใจของเขาตลอดเวลา

พอกลับมาถึงบ้าน ก็ได้พบกับเพื่อนสนิทของซานะ
ได้พบกับมิจิโอกะ ไอริอีกครั้ง
ทำให้สามารถรู้สึกได้ว่ากลับบ้านเกิดมาแล้วจริงๆ

เมืองทั้งเมืองกำลังเริ่มเตรียมงาน เทศกาลเซย์โคว
ชุนที่ไม่ได้สนใจเองก็เริ่มกลมกลืนไปกลับบรรยากาศในแต่ละวันเช่นกัน
ชุนได้เฝ้าสังเกตดูบ้านเกิดที่ไม่ได้กลับมาหนึ่งปี
แล้วก็ได้รู้จักอีกด้านที่ไม่คาดคิดของเพื่อนสมัยเด็กซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนเลยจนถึงตอนนี้ ความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายได้เพิ่มพูนขึ้น

แต่ทว่าในขณะที่การเตรียมงานเทศกาลกำลังไปด้วยสวยนั้นเอง
ในเบื้องหลังนั้น กงล้อแห่งโชคชะตาที่มืดมิดและน่าสะพรึงกลัวขนาดที่พวกชุนไม่สามารถจินตนาการได้ ก็เริ่มหมุนไปอย่างลับๆ
ไม่ใช่แค่ชุนเท่านั้น เหล่าเด็กสาวที่โหยหาเขาเองก็ถูกดึงเข้าไปในโชคชะตาเช่นกัน ถูกล่อลวงเข้าไปหาความมืดมิดไม่มีที่สิ้นสุดที่ไม่อาจหลีกหนีได้

เหล่าหนุ่มสาวที่ยังไม่รู้ชะตากรรมของตนเอง
ในตอนที่พวกเขาได้เผชิญหน้ากับความจริงที่ถูกซ่อนไว้ในเมืองกำแพงหิน พวกเขาจะคิดเช่นใดและจะตัดสินใจอย่างไร ?




少女神域∽少女天獄  -The Garden of Fifth Zoa-
Shoujo Shin'iki ~ Shoujo Tengoku  -The Garden of Fifth Zoa-
เขตแดนศาลเจ้าของหญิงสาว ~ พันธนาการสวรรค์ของหญิงสาว  -สวนแห่งเขตบดบังชั้นที่ห้า-




เมืองไคโจว

เมืองไคโจวนั้นมีภูมิประเทศเป็นแอ่งที่แปลกตา ซึ่งเกิดจากภูเขาไฟที่เคยคุกรุ่นเมื่อนานมาแล้ว ถึงแม้ว่าใจกลางเมืองจะเป็นพื้นที่ราบเรียบ แต่ขอบนอกของเมืองกลับกลับมีภูมิประเทศที่เหมือนเป็นกำแพง ซึ่งเป็นแอ่งภูเขาไฟชนิดหนึ่ง
พอมาคิดเรื่องที่เกียวโตหรือนาราซึ่งเป็นเมืองเก่านั้นก็ถูกสร้างขึ้นในแอ่งเหมือนกันแล้ว ก็น่าจะสามารถพอเข้าใจได้ว่าทำไมเมืองไคโจวที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ถึงได้ถูกสร้างขึ้นในแอ่งภูเขาไฟแห่งนี้
(เมืองอายาโนะกับ เมืองอายาเมะงาโอกะที่เป็นฉากในผลงานของ Lass ก็มีพื้นที่เป็นแอ่งเช่นกัน)

ในฐานะตัวอย่างเปรียบเทียบของแอ่งภูเขาไฟที่ดีนั้น ภูเขาอะโสะที่อยู่ในเขตอะโสะ จังหวัดคุมาโมโตะนั้นเป็นแอ่งที่มีรูปร่างดีที่สุด แต่ว่าตัวอย่างที่มีตะกอนจากปรากฏการณ์ Pyroclastic flow หลงเหลือเป็นบริเวณกว้างหรือมีขอบของแอ่งที่โดดเด่นอย่างเมืองไคโจวนั้นไม่ค่อยมีเท่าไรนัก

กำแพงหินขนาดยักษ์หรืออนุสรณ์หินที่ถูกสร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ที่มีการใช้ประโยชน์จากหินธรรมชาติมาตั้งแต่โบราณนั้นได้ตั้งเด่นเป็นสง่าราวกับจะห้อมล้อมเมืองเอาไว้ เป็นทิวทัศน์ที่แปลกตาของเมืองไคโจว
หินที่เป็นซากโบราณทางประวัติเหล่านั้นถูกเรียกว่า คุซุริวเร็ทเซคิกุน(กลุ่มอุทยานหินมังกรเก้าเศียร) และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แทนเมืองไคโจวไป

กำแพงหินหรืออนุสรณ์หินพวกนี้ถูกตั้งอยู่นอกเมือง------หรือก็คือบริเวณเนินที่เป็นเหมือนกำแพงแอ่งภูเขาไฟ และยังมีส่วนถูกตั้งอยู่ไว้ที่ส่วนยอด(ขอบด้านนอก) อีกด้วย
เรื่องนั้นราวกับว่าเป็นการเสริมกำแพงแอ่งภูเขาไฟ เมื่อผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั่นจะใช้การสัญจรทางบกเดินทางไปยังพื้นที่อื่นก็จะถูกขัดขวางเหมือนกับเป็นกำแพงปราสาทชนิดหนึ่ง

ภูเขาไฟที่มีแอ่งที่เมืองตั้งอยู่นั้นเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 111 เมตร
ราวกับเนินว่าทั้งหมดจะหันหน้าเข้าหาใจกลางที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่ ไม่ค่อยรู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างความสูงต่ำราวๆ ร้อยเมตรเท่าไรนัก

ยิ่งไปกว่านั้น เมืองไคโจวยังเป็นเมืองที่ถูกรวมขึ้นมาจาก
- เมืองฮาคุโระ
- เมืองอิวาซากะ
- เมืองฮิโมโรกิ
- เมืองมาโตอิชิ
- เมืองมากิงาริ
- เมืองไคโยเสะ
ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ 6 เมือง



ศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ

ศาลเจ้าที่อยู่ในเมืองไคโจว มีอีกชื่อหนึ่งคือ อิวาบาจิเมียวเค็นกู(ตำหนักแปลกทิวทัศน์ของผึ้งหิน)
เป็นศาลเจ้าที่ไม่ได้ถูกรวบรวมไว้ในรายชื่อในสมัยเอ็นโจว ในปัจจุบันนั้นอยู่ในระดับศาลเจ้าประจำจังหวัด ตอนนี้เป็นศาลเจ้าที่ไม่ได้ขึ้นตรงกับศาลเจ้าใหญ่ที่ไหน
เทพที่บูชาคือโออิมิฮิโกะโนะมิโคโตะ, โอโมโนะอิมิโนะคามิ, อาเมโนะฮิวาชิโนะคามิ โทริโนะอาวาคุสุฟุเนะโนะคามิ และคุซุริวโอเมียวจิน

ถ้าอ้างอิงจากบันทึกของศาลเจ้าแล้ว ดูเหมือนว่าศาลเจ้าจะถูกตั้งขึ้นในสมัยเท็นเงียวปีที่สาม (คริสต์ศักราช 940)  ถึงอย่างนั้นก็ยังมีบันทึกอื่นอยู่ด้วยเช่นกัน
ถ้าอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งศาลเจ้าแล้ว อันดับแรก ในสมัยเอ็นเรียวคุปีที่สอง (ปี 1161)  ด้วยคำสั่งของจักรพรรดินิโจวเท็นโน พื้นที่ของศาสเจ้าจะถูกพิจารณาเป็นการชั่วคราว และในสมัยเค็นโปปีที่ห้า (คริสต์ศักราช 1217)  มีบันทึกที่ว่าโอเอะ โนะ ฮิโรโมโตะเข้ามามีส่วนร่วมในการก่อสร้างที่กินบริเวณกว้างหลงเหลืออยู่ พอพิจารณาจากเรื่องพื้นที่ศาลเจ้าในตอนนั้นและขนาดของศาลเจ้าชินโตที่ได้ถูกตัดสินแล้ว ยุคที่มีการสร้างจริงจะเป็นยุคเค็นโปปีที่ห้า

ข้างทางของหนทางไปสู่ศาลเจ้านั้น มีตะเกียงหินขนาดใหญ่ที่พวกโมริ ทาคาโมโตะซึ่งเป็นแม่ทัพที่เป็นที่รู้จักกันดีในยุคเซ็นโกคุเคยจุดเพลิงบวงสรวงหลงเหลืออยู่ ทำให้สามารถคาดเดาเรื่องที่มีการรวบรวมความศรัทธามาตั้งแต่โบราณได้





อิวาบาจิเมียวเค็นอิเซกิ (กลุ่มซากโบราณแปลกทิวทัศน์ของผึ้งหิน)

เป็นชื่อเรียกรวมซากโบราณทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคโคฟุนจนถึงยุคคามาคุระทั้งหมดที่อยู่บริเวณรอบนอกเมืองไคโจว
ถูกตั้งชื่อตามชื่อ อิวาบาจิเมียวเค็นกู (ตำหนักแปลกทิวทัศน์ของผึ้งหิน) ซึ่งเป็นชื่อเรียกของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ
ชื่อ คุซุริวเร็ทเซคิกุน (กลุ่มอุทยานหินมังกรเก้าเศียร) ที่เป็นชื่ออีกชื่อก็ถูกเรียกด้วยเช่นกัน แต่ว่าชื่อนี้เป็นชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกอนุสรณ์หินจำนวนมากกับกำแพงหินที่เกิดจากธรรมชาติหรือไม่ก็ฝีมือมนุษย์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาแต่ต้นยุคเฮอันถึงปลายยุคเอโดะ เพื่อล้อมรอบเมืองเอาไว้ และได้เหลือรอดผ่านอันเวลายาวนานมา

พอแบ่งกลุ่มซากโบราณออกเป็นกลุ่มใหญ่แล้วจะได้
1) ยุคโคฟุนถึงยุคนารา
2) ยุคนาราถึงยุคเฮอัน
3) ยุคเฮอันถึงยุคคามาคุระ
ซึ่งเป็นสามยุค ซากโบราณที่มีหลายยุคสมัยรวมกันแบบนี้นั้นเรียกว่า ซากโบราณทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน

เพราะว่ามีภูมิประเทศเป็นแอ่งแบบพิเศษรึเปล่าก็ไม่อาจทราบได้ ทำให้ร่อยรอยอารยธรรมจากหลายยุคที่อยู่บริเวณตีนเขาหรือในภูเขานั้น แม้แต่ในระดับประเทศก็ยังจัดว่าหาได้ยาก และในปัจจุบันก็ยังคงมีการขุดค้นมาอย่างต่อเนื่อง

เกี่ยวกับที่มาของอุทยานหินแห่งนี้นั้น ในปัจจุบัน แม้แต่ศาสตร์อย่างพวกวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบที่ตายตัวได้ ในตอนนี้หน่วยงานการศึกษาอย่างคณะกรรมการการศึกษาเมืองไคโจวหรือมหาวิทยาลัยโทสึคาวะก็ได้ไปทำการสำรวจในหลายๆ ด้านด้วยเช่นกัน
ในด้านเอกสารข้อมูลนั้น ได้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในหนังสือ Journal of the Sixteenth-Night Moon ของอะบุสึนิที่เขียนขึ้นในยุคโควอันปีที่หก (คริสต์ศักราช 1283) ว่า มีของที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินอยู่มากมาย ขาของคนที่เดินลงมาจากภูเขาหินที่ลาดชันมากก็ได้หยุดลงเช่นกัน ทำให้อย่างน้อยก็สามารถพอคาดเดาได้ว่าในยุคคามาคุระนั้นกำแพงหินกับอนุสรณ์หินได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว



ฮิเมะชากะ

ดอกไม้ประจำเมืองของเมืองไคโจวก็คือดอกฮิเมะชากะ (ดอก Iris gracilipes)
มีขึ้นอยู่มากบริเวณเนินของแอ่งหรือในป่า

ดอกฮิเมะชากะของเมืองไคโจวนั้นมีตั้งแต่สีน้ำเงินเข้มไปจนถึงสีน้ำเงินม่วง ฤดูที่บานคือปลายเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน และจะบานเร็วกว่าสายพันธุ์ปกติด้วยเช่นกัน
ถึงจะเป็นพืชที่ปกติทนความหนาวเย็นได้ดีอยู่แล้วก็จริง แต่พอมองดูจากทั่วประเทศแล้วก็ยังเป็นกรณีที่หายากอยู่ดี

มีเรื่องที่เคยถูกย้ายไปปลูกในพื้นที่อื่นอยู่ด้วยเหมือนกัน แต่ว่าดอกฮิเมะชากะที่ย้ายไปก็เติบโตและเบ่งบานเช่นเดียวกับดอกฮิเมะชากะธรรมดา ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า สีของดอกไม้กับเรื่องที่บานเร็วนั้นได้รับอิทธิพลมาจากดินของเมืองไคโจวรึเปล่านะ ?





ตระกูลทาคางิ

ตระกูลตัวเอก ทาคางิ ชุนและ ทาคางิ ซานะ
นามสกุลทาคางินั้นมาจากคำว่า ทาคาที่มีความหมายว่าแสดงให้เห็นถึงอำนาจของเทพกับคำว่า งิ ที่มีความหมายว่ายิ่งใหญ่

ตระกูลทาคางินั้นเดิมทีเป็นตระกูลที่เคยเป็นผู้นำของดินแดนที่ชื่อไคโจว
แต่ว่าในระหว่างช่วงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนั้น สิทธิในการแสดงความเห็นกับอำนาจการปกครองดินแดนก็ได้ค่อยๆ ถูกตระกูลอื่นแย่งชิงไป

ในปัจจุบัน มีแค่ตระกูลหลักเท่านั้นที่ยังมีคนอยู่ ซึ่งเหลือกันแค่ตัวเอกกับน้องสาวแท้ๆ สองคนเท่านั้น
พวกเขาไม่มีญาติที่มีสายเลือดเดียวกันที่รู้จักกันโดยตรงอยู่เลย
ในระหว่างช่วงเวลาที่ยาวนานนั้น ญาติคนอื่นๆ เองก็กระจัดกระจายไปทั่วประเทศ กลายเป็นสถานการณ์ที่ว่าไม่สามารถติดต่อกับรุ่นพ่อแม่ได้เลย และไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง

ที่อยู่อาศัยของตระกูลทาคางิเป็นบ้านสองชั้นสมัยใหม่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองไคโจว
โดยปกติแล้วแล้ว คฤหาสน์ซางาเอะเก่านั้นเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียง แต่ในปัจจุบันถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตระกูลทาคางิที่เป็นผู้สนับสนุนอันดับหนึ่งของ ศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ
นอกจากนี้บ้านหลังนี้ ก็ยังเป็นสิ่งปลูกสร้างสำคัญในด้านทิวทัศน์ของเมืองไคโจวอีกด้วย
ถ้าอ้างอิงจาก เอกสารซางาเอะที่หลงเหลืออยู่ในเมืองไคโจวแล้ว จะมีบันทึกไว้ว่าพื้นที่รอบๆ คฤหาสน์ในปัจจุบันนั้น ในอดีตเดิมทีเคยเป็นพื้นที่ของตระกูลทาคางิกับตระกูลซางาเอะซึ่งเป็นตระกูลสาขามาตั้งแต่สมัยมุโรมาจิ และที่นั่นไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นที่พักสำหรับประชาชนรอบๆ หรือที่ชาวต่างถิ่นที่มางานเทศกาลของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะอีกด้วย

เดิมทีตระกูลซางาเอะที่เป็นเจ้าของที่ดินนั้นเป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงของเมืองไคโจว ครอบครองทรัพย์สินมากมายขนาดที่มีที่ดินขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างเรือนแยกได้หลายเรือนและยังสร้างโกดังได้ถึงสามแห่ง
แต่ว่าด้วยเหตุการณ์น่าเศร้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังสงครามครั้งใหญ่ ชื่อเสียงของตระกูลก็เลยค่อยๆ ซาลงไป ในปัจจุบันได้เหลือครอบครองอยู่แค่อยู่แค่เรือนใหญ่กับโกดังหนึ่งแห่งเท่านั้น
หลังสงคราม พอตระกูลซางาเอะสิ้นตระกูลไป ตอนนั้นตระกูลทาคางิซึ่งเป็นตระกูลหลักกับตระกูลโอคุชิโระซึ่งเป็นตระกูลที่คอยสนับสนุนของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะเป็นอย่างมากก็ได้เข้ามาควบคุมดูแลที่ดินกับที่อยู่อาศัยแทน



ตระกูลโอคุชิโระ

ตระกูลของ โอคุชิโระ ยูกิที่เป็นหนึ่งในบรรดานางเอก
นามสกุลโอคุชิโระนั้นมีที่มาจากภาษาเก่า มีความหมายว่า สุสานของบรรพบุรุษ
ตระกูลโอคุชิโระในปัจจุบันนั้นเป็นตระกูลสำคัญที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเมืองไคโจว และยังมีสิทธิเสียงในการบริหารงานของเทศบาลมากอีกด้วย

ที่อยู่อาศัยของตระกูลโอคุชิโระคือคฤหาสน์ตระกูลโอคุชิโระที่ตั้งอยู่ในเขตไคโยเสะซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองไคโจว
ที่นั่นถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตระกูลโอคุชิโระซึ่งเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของ ศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ และมีอิทธิพลมากที่สุดในเมืองไคโจว
ในด้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นจะเป็นพวกบ้านพักตากอากาศซึ่งเป็นอดีตสถานทูตอังกฤษที่ถูกรื้อมาสร้างใหม่ หรือพวกโอมุอัน (อารามนกแก้ว)  ที่ถูกสร้างขึ้นในตอนปลายของยุคเอโดะที่นิยมสร้างสิ่งปลูกสร้างเลียนแบบ เมย์เมย์อันของอาริซาวะ คาซุมิจิ สิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นยังเป็นสิ่งปลูกสร้างสำคัญที่ในด้านทิวทัศน์ของเมืองไคโจวอีกด้วย




ตระกูลสึคามิเนะ

ตระกูลของสึคามิเนะ มิโอริ ที่เป็นหนึ่งในบรรดานางเอก
นามสกุลสึคามิเนะนั้นมาจากคำว่า สึคาที่มีความหมายเดียวกับคำว่า สึคาที่แปลว่าสุสาน กับคำว่า มิเนะ(ยอดเขา)  ของภูเขาสูง
เป็นตระกูลที่มีอิทธิพลและควบคุมขนส่งของเมืองมาตั้งแต่ในอดีต แต่ว่าในปัจจุบันไม่ได้มีอิทธิพลมากขนาดเมื่อก่อนแล้ว

ที่อยู่อาศัยของตระกูลสึคามิเนะคือคฤหาสน์ตระกูลสึคามิเนะที่ตั้งอยู่ในเขตฮิโมโรกิซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองไคโจว
ที่นั่นถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตระกูลสึคามิเนะซึ่งเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของ ศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ และเป็นตระกูลที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนานของเมืองไคโจว
สถานที่นั้นไม่ได้เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนเลย เป็นสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่ยังไม่ได้สร้างมานานขนาดที่จะเสื่อมราคาลงได้ ซึ่งอยู่กลางทางระหว่างถนนที่จะเชื่อมต่อไปยัง อิยาฮิโกะนุถนนเก่าที่อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ใน บันทึกคาราบาชิยุคที่สามเอกสารเก่าที่สืบทอดกันมาในตระกูลสึคามิเนะ นั้นได้มีบันทึกไว้ว่า ครั้งหนึ่งตอนก่อนสมัยเอโดะ เคยอาศัยอยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เป็นศาลาเล็กๆ ที่ไม่มีหลังคาจั่วมาด้วยเช่นกัน



ตระกูลมิจิโอกะ

ตระกูลของมิจิโอกะ ไอริ ที่เป็นหนึ่งในบรรดานางเอก
นามสกุลมิจิโอกะนั้นมีความหมายว่าถนนที่จะมุ่งไปยัง โอกะที่มีความหมายว่าสุสานจักรพรรดิ

ที่อยู่อาศัยของตระกูลมิจิโอกะคือคฤหาสน์ตระกูลมิจิโอกะที่ตั้งอยู่ในเขตฮาคุโระซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของเมืองไคโจว
สิ่งปลูกสร้างที่ถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตระกูลมิจิโอกะซึ่งเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของ ศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ และเป็นตระกูลเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของเมืองไคโจว นั้นเป็นสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวแทนของเมืองไคโจว และยังเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีความสำคัญในด้านทิวทัศน์ของเมืองไคโจวอีกด้วย
ในตอนแรกนั้นเป็นคฤหาสน์สไตล์ญี่ปุ่นที่มีหลังคาจั่วจัดเรียงกันอย่างสลับซับซ้อน แต่ว่าในปีโควบุนที่สิบเอ็ดก็ได้มีการต่อเติมใหม่ให้เป็นสไตล์ตะวันตกตามที่เห็นในปัจจุบัน
พวกทางเข้าหน้าบ้านหรือเตาผิงจะทำด้วยหินอ่อน มีตกแต่งภายในด้วยพวกกระจกสีหรือโคมไฟ โดยของที่นำมาตกแต่งนั้นเป็นของที่ถูกเตรียมไว้ตั้งแต่ในสมัยไทโชถึงสมัยโควบุน ทำให้แม้แต่ในตอนนี้ก็ยังสามารถสัมผัสได้ถึงความวิเศษไม่แพ้ภายนอกอาคารที่เป็นการผสมผสานระหว่างสไตล์ญี่ปุ่นกับสไตล์ตะวันตก
และว่ากันว่าเป็นหนึ่งในโมเดลของคฤหาสน์สไตล์ตะวันตกหลังใหญ่ที่โผล่มาในนิยาย “คดีฆาตกรรมคฤหาสน์เซมาริยะ” ผลงานชิ้นเอกของโคชิโร่ โอทาโร่ นักเขียนนิยายนักสืบในช่วงก่อนสงครามด้วยเช่นกัน




โรงเรียนเซย์โฮวคัง

สถาบันการศึกษาที่บริหารโดย กลุ่มเซย์โฮว ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชน
ตั้งอยู่ในเขตฮาคุโระซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของเมืองไคโจว
จำนวนนักเรียนนั้นมีราวๆ สองร้อยแปดสิบคนต่อชั้นปี มีชื่อย่อคือ เซย์กาคุ

ในยุคเมย์จิปีที่สามร้อยสิบเจ็ด โรงเรียนได้ถูกก่อตั้งโดย มิจิโอกะ เซย์ชูผู้จบการศึกษาด้านอารยธรรมจีน ในฐานะ โรงเรียนมัธยมปลายสตรีเซย์โฮวจากนั้นก็ได้มีการปรับระบบการศึกษาใหม่ในช่วงหลังสงคราม และกลายเป็นโรงเรียนสหอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

เดิมที่สถานที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่นั้นเป็นที่ตั้งของ ศาลเจ้าอิวาโจว ซึ่งเป็นศาลเจ้ารองของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ เป็นศาลเจ้าที่มีพื้นที่เล็กและได้ทำการรวบรวมศรัทธาจากพื้นที่ใกล้เคียงในฐานะศาลเจ้าประจำเขต
ในสำนักงานของศาลเจ้านั้น  มิจิโอกะ บังเคย์อาของผู้ก่อตั้งนั้นได้เปิดโรงเรียนกวดวิชาเพื่อทำการสอนหนังสือให้กับเด็กผู้หญิง แล้วก็ได้กลายเป็นรากฐานของการสร้างโรงเรียนไป

ในช่วงหลังสงครามก็ได้กลายเป็นโรงเรียนสห และได้มีพัฒนาอย่างก้าวกระโดดราวกับรับสืบทอดชื่อเสียงกับความสำเร็จในช่วงก่อนสงครามมา ปริมาณนักเรียนจากต่างจังหวัดที่มาสอบเข้าก็เพิ่มขึ้น ผลก็คือได้มีการสร้างหอพักสำหรับโรงเรียนขึ้นมาหลายๆ แห่งในเมืองไคโจว

ผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ มิจิโอกะ โทคุโกะแม่ของมิจิโอกะ ไอริ



เทศกาลเซย์โคว

งานเทศกาลพิธีกรรมที่จะจัดขึ้นทุกปีของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ เรียกง่ายๆ โดยคนในท้องถิ่นว่า งานเทศกาลประจำปี
จะคิดว่าเป็นรูปแบบที่พิเศษของ เทศกาลโทริโนะอิจิที่มีอยู่ในทั่วประเทศก็ได้

ที่ศาลเจ้าโออิมิฮิโกะจะจัดงานตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน แต่ไม่มีวันเวลาที่ตายตัวเหมือนศาลเจ้าอื่น
เรื่องวันเวลานั้นจะมีการถามเจตนารมณ์จากเทพโออิมิฮิโกะโนะมิโคโตะซึ่งเป็นเทพที่บูชา และจะเลือกจัดจากวันในช่วงเวลาที่เป็นวันมงคลเข้ากับฤกษ์

นอกจากนี้เหตุผลที่ใช้ตัวคันจิ โอโทริในชื่องานเทศกาลก็เพราะมีรากฐานมาจากบันทึกตำนานว่าในตอนที่เทพปรากฏร่างออกมาในพื้นที่แห่งนี้ ได้มีมีไก่สีขาวสองตัวตามมาเป็นบริวารด้วย
เพราะแบบนี้ ผู้ส่งสารของเทพโออิมิฮิโกะโนะมิโคโตะจึงเป็นไก่สีขาว ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีอิทธิพลกับเรื่องที่ทำให้งานเทศกาลออกมาคล้าย เทศกาลโทริโนะอิจิ ในปัจจุบันมากพอสมควร

เทศกาลโทริโนะอิจิของจริงนั้นจะถูกจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ถึงจะมองจากทั่วประเทศแล้ว ช่วงเวลาที่จัดงานเทศกาลของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะก็ยังถือว่าแปลกอยู่ดี

ในช่วงวันงานเทศกาลนั้น ที่ ถนนหลักฮาจิมิยะ(ตำหนักผึ้ง)  ซึ่งเชื่อมต่อใจกลางเมืองเข้ากับเมืองส่วนเหนือและเมืองส่วนใต้ จะมีแผงลอยขายของพวกคราดมงคลมาเรียงรายกัน และจะมีนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ข้างเคียงมากันมากจนเต็มเส้นทางสัญจรปกติ



ตำนานไทระโนะมาซาคาโดะของเมืองไคโจว

เมืองไคโจวเองก็มีตำนานพื้นเมืองที่เกี่ยวข้องกับไทระโนะมาซาคาโดะเล่าสืบต่อกันมาเช่นกัน ในตอนที่หัวของมาซาคาโดะซึ่งถูกนำมาเสียบประจานที่เกียวโตได้ลอยขึ้นฟ้า, พุ่งผ่านท้องท้องฟ้าไปเพื่อตามหาร่างของตนเองด้วยความโกรธแค้น และได้สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คน หัวก็ได้ถูกทำให้สงบลงโดยอิวาบาจิไทชิซึ่งถูกส่งมาโดยเมียวเค็นซนชิโยวโอวโนะมิโคโตะ

สถานที่ที่หัวของมาซาคาโดะได้ร่วงลงไปก็คือศาลเจ้าด้านหลังของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะในปัจจุบัน เพื่อปกป้องดินแดนจากคอของมาซาคาโดะและความแค้นของมัน ก็เลยมีการสร้างศาลเจ้าขึ้นมา และได้เป็นที่มาของตำนานอิวาบาจิไทชิซึ่งหลงเหลืออยู่ในเมืองเดียวกันนั่นเอง
สำหรับเรื่องสุสานของไทระโนะมาซาคาโดะนั้น ตำนานของย่านโอเท เขตจิโยดะ ในกรุงโตเกียวถือว่ามีชื่อเสียงมากที่สุด แต่ว่าไม่ใช่แค่คอเท่านั้น ส่วนแขนหรือลำตัวก็บินมาด้วย พื้นที่ที่ว่ากันว่าหัวถูกผนึกไว้เองก็มีหลายแห่งเช่นกัน
สำหรับตำนานไทระโนะมาซาคาโดะในเมืองไคโจวนั้นเป็นของที่ถูกเล่าสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น------ตั้งแต่ช่วงก่อนยุคเอโดะ เดิมที่นั้นเป็นตำนานแบบเก่าที่ถูกเล่าสืบต่อมายังอิมิเบโนะ (ชื่อเก่าของเมืองไคโจว)  แต่ว่าพอมาพิจารณารวมกับตำนานที่มีเรื่องของไทระโนะมาซาคาโดะรวมอยู่ด้วยแล้วก็ดูสมเหตุสมผลขึ้นมา
หลักฐานก็คือ ในเมืองไคโจวหรือบริเวณรอบนอกนั้นไม่มีที่มาของตำนานมาซาคาโดะอื่นนอกจากตำนานของอิวาบาจิไทชิ ถูกเล่าสืบต่อกันมาเลย
อีกอย่างก็คือ ถึงจะไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์แล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งซึ่งรวมเมืองไคโจวเข้าไปด้วยนั้นได้เริ่มถูกปกครองโดยทหารของของวาตานาเบะมาตั้งแต่สมัยเฮย์อัน ในช่วงสงครามระหว่างเกนจิกับเฮเกะ เพราะเป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับเกนจิซึ่งตอบรับการรวมพลของโยริโทโมะ ก็เลยมีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเกนจิหลงเหลืออยู่มาก

เพราะแบบนี้ เรื่องที่ทำไมตำนานไทระโนะมาซาคาโดะถึงได้เป็นที่มาของตำนานการสร้างศาลเจ้าโออิมิฮิโกะก็เลยมีข้อสงสัยอยู่มากมาย





อิวาบาจิไทชิ

ตามตำนานแล้วเป็นผู้ก่อตั้งศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ
ในตอนที่หัวของไทระโนะมาซาคาโดะจะบินกลับมาที่คันโตอีกครั้ง เทพฟุทาระซันกับเทพคันมา เทพท้องถิ่นที่ปกป้องคุ้มครองคันโตก็ได้ไปของความช่วยเหลือจากเมียวเค็นซนชิโยวโอว ทำให้รูปปั้นฟุโดเมียวโอของวัดโทวไดกลายเป็นผึ้งจำนวนมหาศาล ไล่ตามหัวของมาซาคาโดะไปและผนึกมัน

แต่ว่าความแค้นของมาซาคาโดะนั้นรุนแรงมาก หลังจากที่ได้ใช้พลังทั้งหมดไปก็ร่วงลงไปยังผืนดินของอิมิเบโนะและแพร่กระจายคำสาป ทำให้ผู้คนในดินแดนประสบปัญหา
ต่อมา ด้วยพลังของเมียวเค็นซนชิโยวโอว ผึ้งตัวที่ใหญ่ที่สุดได้กลายร่างเป็นคนชื่ออิวาบาจิไทชิ ผึ้งที่เหลือแต่ละตัวก็ได้กลายเป็นเด็กรับใช้และติดตามไทชิมา ด้วยอาวุธที่ได้รับมาจากเมียวเค็นซนชิโยวโอว ทำให้ในที่สุดความแค้นของมาซาคาโดะก็ได้ถูกผนึกลงไป
ในตอนนั้น ผืนปฐพีได้ส่งเสียงดังก้องและเกิดความเปลี่ยนแปลงทางภูมิประเทศครั้งใหญ่
และเป็นที่มาของ คุซุริวเร็ทเซคิกุน (กลุ่มอุทยานหินมังกรเก้าเศียร) ในปัจจุบัน

อิวาบาจิไทชิกับพวกเด็กรับใช้ได้อยู่ที่ดินแดนนั้นต่อไปทั้งๆ อย่างนั้น และได้สร้างศาลเจ้าเพื่อสักการะบูชาเมียวเค็นซนชิโยวโอว หลังจากนั้นพวกเขาก็จะโผล่มาทุกคืนเพื่อคอยรับฟังเรื่องราวของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั่นและปัดเป่าความไม่สบายใจออกไปให้

ส่วนเรื่องที่ทำไมถึงต้องโผล่มาตอนกลางคืนนั้น ในขณะที่รับฟังความไม่สบายใจของผู้คนและช่วยปัดเป่ามันออกไปร่างกายของไทชิก็ได้กลายเป็นสีดำ ราวกับได้กลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดไปแล้ว เพราะไม่อยากให้ร่างกายนั่นสร้างความตื่นกลัวให้กลับผู้คนก็เลยโผล่มาเฉพาะตอนกลางคืน



อาเมโนะฮาฟุริโนะมิโกะ

อาเมโนะฮาฟุริโนะมิโกะ คือมิโกะที่จะระบำคางุระ ชิซาไม(ระบำสี่คน) บวงสรวงแก่เทพเจ้าโออิมิฮิโกะโนะมิโคโตะ เทพเจ้าหลักของศาลเจ้า
ชิซาของ ชิซาไมหมายถึงพวกเด็กรับใช้ของอิวาบาจิไทชิซึ่งเป็นผู้กล้าที่อยู่ในตำนานเดียวกัน แต่ละคนก็คือ นิวโทโดวชิ”  “ทาวาระโดวชิ” “มาโทระโดวชิ” “ทาคิยาฉะโดวชิ

จุดที่น่าสนใจมากคือ มิโกะหนึ่งคนจากในสี่คนจะต้องไปเป็นผู้ติดตามเทพแทนไก่สีขาวซึ่งเป็นวิญญาณส่วนหนึ่งของเทพโออิมิฮิโกะโนะมิโคโตะตลอดคืน ส่วนระบำคางุระนั้นมิโกะอีกสามคนที่เหลือจะเป็นผู้ร่ายรำ
แขกที่มาศาลเจ้าจะได้เห็น ซานซาไม (ระบำสามคน) ด้วยเช่นกัน ส่วนเรื่องที่มิโกะตำแหน่งไหนในสี่คนจะหายไปนั้นว่ากันว่าจะต่างกันออกไปตามปี

ชุดมิโกะที่ อาเมโนะฮาฟุริโนะมิโกะต้องใส่นั้นจะเป็นชุดพิเศษไม่เหมือนกับมิโกะทั่วประเทศ ตามบันทึกของศาลเจ้า ชุดที่ใส่จะเป็นชุดที่เลียนแบบชุดของเด็กรับใช้ที่ติดตามอิวาบาจิไทชิมา

นอกจากนี้ ในตอนระบำคางุระจะต้องใส่หน้ากากหมาป่าด้วย ที่เป็นแบบนี้ก็มีที่มาจากตำนานอิวาบาจิไทชิเช่นเดียวกัน
ถ้าอ้างอิงจากตำนานแล้ว ร่างจริงของไทชินั้นจะเป็นเทนกุ ร่างจริงของพวกเด็กรับใช้ก็เป็นพวกเทนกุภูเขาหรือเทนกุแม่น้ำด้วยเช่นกัน เนื่องจากเทนกุนั้นถูกเรียกว่าอามาคิสึเนะ(จิ้งจอกสวรรค์) ก็เลยมีจุดเชื่อมต่อระหว่างเทนกุกับจิ้งจอกเกิดขึ้น และดูเหมือนว่าพอยุคสมัยผ่านไปก็เกิดการผสานความเชื่อเข้าด้วยกัน



ฟุรุสุเสะ

แป้นหมึกเขียนพู่กันที่สืบทอดกันมาในศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ
เป็นทันเคย์เค็น(แป้นหมึกจีนชั้นดีที่มาสร้างมาจากหินในหุบเขาทันเคย์ ประเทศจีน) ชนิดหนึ่ง และเป็นศิลปกรรมชั้นเลิศที่บ่งชี้ว่าสร้างขึ้นด้วยหินที่ขุดมาจากหุบเขาลึกในนครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

สิ่งนี้ในศาลเจ้าโออิมิฮิโกะมีอีกชื่อหนึ่งคือ ฮันโรวเค็น(แป้นหมึกกรงนก)
คาดว่าน่าจะเป็นทันเคย์เค็นในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ในบันทึกของศาลเจ้าบันทึกไว้ว่าถูกทำขึ้นด้วยหินมีค่าที่ขุดมาจาก 坑仔岩 (อานาโกะอิวะ ?) ในแถบเคียวนัน

เป็นอุปกรณ์พิธีกรรมสำหรับงานเทศกาลของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ
โดยจะนำดอกฮิเมะชากะซึ่งบานในพื้นที่เดียวกันมาบดทั้งต้นและต้ม จากนั้นผสมเข้าด้วยกันกับยาน้ำที่ถูกสร้างขึ้นโดยวิธีการลับที่ห้ามเผยแพร่ แล้วก็เทลงไปในแป้นหมึก
หลังจากนั้นก็จะนำเส้นไหมที่ถูกชำระล้างให้บริสุทธิ์แล้วไปจุ่มแล้วย้อมอย่างพิถีพิถัน ซึ่งด้ายเหล่านั้นจะถูกใช้เพื่อทอขึ้นเป็นสายเชือกของแต่ละตระกูล





โชว

ดาบที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลโอคุชิโระ ถูกตั้งชื่อว่า โชวซึ่งมีความหมายว่านกกระจิบ
มีรูปร่างเป็นดาบตรงคล้ายกับดาบของสำนักกาซันแบบเก่า มีลายดาบที่ประณีตมากและคล้ายกับลายอายาสุกิฮาดะ
ในบรรดาดาบที่สืบทอดกันมาของแต่ละตระกูลนั้น พูดอย่างภูมิใจได้เลยว่ามีรูปร่างเหมือนดาบญี่ปุ่นมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่ถือมันก็ต้องมีฝีมือในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน



โคสึ

ดาบที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลสึคามิเนะ ถูกตั้งชื่อว่า โคสึซึ่งมีความหมายว่าเหยี่ยว
มีรูปร่างแปลกคล้ายกับสึคุชินางินาตะซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับดาบของแผ่นดินใหญ่ โครงสร้างของส่วนใบมีดนั้นมีลักษณะใกล้เคียงกับอุโนะคุบิซึคุริ (เป็นใบมีดชนิดหนึ่ง)
ถึงรูปร่างจะดูใหญ่นิดหน่อย แต่อาจเป็นเพราะถูกตีขึ้นด้วยเหล็กกล้าชนิดพิเศษ ก็เลยเบามาก เป็นน้ำหนักที่ต่อให้ใช้มือเดียวก็ยังถือได้




เกคิ

ดาบที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลมิจิโอกะ ถูกตั้งชื่อว่า เกคิซึ่งมีความหมายว่านกกระสา
มีรูปร่างเป็นดาบที่ใส่ใบมีดสองเล่มเข้าไปยังขอบของส่วนโค้งตรงกลาง เป็นดาบสองคมที่มีรูปร่างแปลก ดูคล้ายดาบยุโรป
ส่วนรางน้ำนั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างประณีต แต่ก็มีโครงสร้างที่หนาและเทอะทะคล้ายกับมีดนางาสะที่พวกมาทากิ (กลุ่มนักล่าสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ใช้กัน
เพราะแบบนั้น ถึงจะยาวกว่าดาบสั้นเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีน้ำหนักที่ทำให้ถือมือเดียวได้ลำบาก



โอว

ดาบที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลทาคางิ ถูกตั้งชื่อว่า โอวซึ่งมีความหมายว่าเป็ดแมนดารินตัวเมีย
มีรูปร่างเป็นดาบสั้นคล้ายดาบโบราณสองคม มีโครงสร้างแบบดาบญี่ปุ่นทั่วไป บริเวณส่วนกลมที่ปลายด้ามจับมีห่วงร้อยอยู่สองเส้น
มีสภาพไม่ค่อยดีเท่าดาบที่สืบทอดกันมาของตระกูลอื่น แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่าไม่มีทางหักได้เองตามธรรมชาติ




เค็นโจวยนชู

แต่ละตระกูลที่เป็นผู้สนับสนุนศาลเจ้าโออิมิฮิโกะจะมีเหรียญเก่าแก่ที่เรียกว่า เค็นโจวยนชู(สี่รูปแบบแห่งเค็นโจว) สืบทอดต่อกันมา ในเรื่องวัตถุดิบที่ใช้สร้างหรือวิธีการผลิตนั้นยังเป็นปริศนาอยู่มาก เป็นของปริศนาที่มีชื่อเสียงแม้แต่ในบรรดานักวิจัย
มีของที่เรียกว่าโฮวโคเกียคุ ซึ่งเป็นของที่สร้างเลียนแบบดีไซน์ในสมัยโบราณโดยคนรุ่นหลังอยู่ด้วยเช่นกัน แต่ว่า เค็นโจวยนชู นี้เป็นของที่ถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือระดับสูงในสมัยโบราณแน่นอน และเรียกได้ว่าเป็นของที่ดูไม่สอดคล้องกับสถานที่และเวลาอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน

จิโอวมารุจิชิ
เหรียญเก่าแก่ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลโอคุชิโระ
เป็นรูปสิงโตครอบครองหินมีค่า กำลังเป็นที่สงสัยว่าเป็นของในสมัยราชวงศ์ฉินหรือไม่

อาโอมาวาริ
เหรียญเก่าแก่ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลสึคามิเนะ
เป็นรูปงูสีเขียวกำลังเลื้อยขด กำลังเป็นที่สงสัยว่าเป็นของในสมัยราชวงศ์ฉินหรือไม่

จิโอวมารุโคมะ
เหรียญเก่าแก่ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลมิจิโอกะ
เป็นรูปโคมะอินุที่อ่อนวัย กำลังเป็นที่สงสัยว่าเป็นของในสมัยราชวงศ์ฉินหรือไม่
เพราะมีลักษณะคล้ายกับจิโอวมารุจิชิ สีเองก็คล้ายกันเช่นกัน ก็เลยมีการคาดเดาว่าอาจจะเป็นของที่ถูกสร้างโดยคนๆ เดียวกัน

เซกิเซ็น
เหรียญเก่าแก่ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของตระกูลทาคางิ
เป็นรูปจักจั่นสีแดง มีการคาดเดาว่าเป็นของสำหรับใส่ไว้ในปากของคนตายในพิธีฝังศพสมัยต้นราชวงศ์ฮั่น



ซานาดะฮิโมะ

ซานาดะฮิโมะ (สายเชือก) คือเชือกที่เรียบเสมอกันและมีช่องว่างแคบที่ทอขึ้นโดยเครื่องถัก ส่วนชื่อนั้นมีทฤษฎีว่าที่มีมาจากเรื่องที่ซานาดะ มาซายูกิ ลูกชายของโนบุชิเงะได้ทำการค้าขายกับหลายๆ พื้นที่ โดยผ่านพ่อค้าในซาไค  แต่ว่าในเมืองไคโจวนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าซานาดะฮิโมะจะการมีสืบทอดกันมาตั้งแต่ช่วงก่อนยุคเซ็นโงคุ

ด้วยลักษณะเฉพาะที่ไม่ยืดง่ายและทดทานของเชือก ก็เลยถูกใช้เพื่อแขวนของหนักหรือผูกของเข้าด้วยกันแน่นๆ
ในเชือกส่วนหนึ่งนั้น จะมีลายที่ถูกแต่งตามตราประจำตระกูลหรือบุคคล ซึ่งจะถูกใช้เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันตระกูลหรือตัวบุคคล

ลายตรงส่วนปลายเชือกจะต่างกันออกไปตามตระกูลผู้สนับสนุนที่สำคัญของศาลเจ้าโออิมิฮิโกะ อย่างตระกูลทาคางิซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลัก, ตระกูลโอคุชิโระ, ตระกูลสึคามิเนะ, ตระกูลมิจิโอกะ โดยจะใช้ลายสืบที่ทอดกันมาในตระกูลรุ่นต่อรุ่น
เป็นของที่จะถูกใช้ในเทศกาลพิเศษ โออิมิฮิโกะโกะเอ็นโฮวชูคุไดไซ (เทศกาลใหญ่เฉลิมฉลองแสดงความนับถือโชคชะตาโออิมิฮิโกะ) ที่จะจัดขึ้นในทุกๆ รอบยี่สิบปี
ในระหว่างช่วงพิธีกรรมนั้น ญาติทั้งหมดของแต่ละตระกูลที่เป็นตระกูลผู้สนับสนุนศาลเจ้าจะต้องใส่หรือพกติดตัวไว้ตลอดเวลา

ทาคางิฮิโตะเอโอริ
ลายของตระกูลทาคางินั้นมีชื่อว่า  “โทโมสุเรบะอะดานะคาเซะซึ่งนำชื่อมาจากในบทกวีของโอโนะ โนะ โคมาจิซึ่งเป็นนักกวีคนหนึ่งจากในกลุ่มสามสิบหกกวีผู้ยิ่งใหญ่

โอคุชิโระฮิโตะเอโอริ
ลายของตระกูลโอคุชิโระมีชื่อว่า ฮารุกาซุมิคาสุมิเตะอินิชิคาริงะเนะซึ่งนำชื่อมาจากในบทกวีของคิ โนะ โทโมโนริซึ่งเป็นนักกวีคนหนึ่งจากในกลุ่มสามสิบหกกวีผู้ยิ่งใหญ่

สึคามิเนะฮิโตะเอโอริ
ลายของตระกูลสึคามิเนะมีชื่อว่า อิซาโคโตะโทะวะมุมิยะโคโดริ ซึ่งนำชื่อมาจากในบทกวีของอาริวาระ โนะ นาริฮิระ ซึ่งเป็นนักกวีคนหนึ่งจากในกลุ่มสามสิบหกกวีผู้ยิ่งใหญ่

มิจิโอกะฮิโตะเอโอริ
ลายของตระกูลมิจิโอกะมีชื่อว่า “โคโตะโนะเนะนิมัทสึคาเซะ” ซึ่งนำชื่อมาจากในบทกวีของไซกู โนะ เนียวโกะซึ่งเป็นนักกวีคนหนึ่งจากในกลุ่มสามสิบหกกวีผู้ยิ่งใหญ่




少女神域∽少女天獄  -The Garden of Fifth Zoa-
Shoujo Shin'iki ~ Shoujo Tengoku  -The Garden of Fifth Zoa-
เขตแดนศาลเจ้าของหญิงสาว ~ พันธนาการสวรรค์ของหญิงสาว  -สวนแห่งเขตบดบังชั้นที่ห้า-



ทีมงาน
นักเขียนเนื้อเรื่อง
LEGIOん
獅子雰麓
剣技マナ

ภาพ
早川ハルイ
よう太
石井久雄
森山しじみ

Producer
剣技マナ

- วางจำหน่ายวันที่ 26 เดือนเมษายน ปี 2012 -

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
จัดพิมพ์โดย 有限会社ラスエル
ห้อง 203 ตึกฮาเซงาวะที่ 2  บ้านเลขที่ 4-14-6 ทาคาดะโนะบาบะ เขตชินจูกุ กรุงโตเกียว

ออกแบบและเรียบเรียงโดย うさぎ旅館

http://lass.jp/
©Lass Company

การลอกเลียนหนังสือเล่มนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ถ่ายโอนผลงานที่ลอกเลียนโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมไปถึงแจกจ่ายนั้นไม่อยู่ในข้อยกเว้นของกฎหมายลิขสิทธิ์
และไม่อนุญาตให้ไปขอร้องให้กลุ่มอื่นเช่นตัวแทนจำหน่าย ทำการลอกเลียนหนังสือเล่มนี้ ถึงจะเพื่อใช้เป็นการส่วนตัวก็ตามที



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น