หน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความ Higurashi no Naku Koro ni คืออะไร
Q : อยากเล่น
Visual
Novel ซีรีย์
Higurashi
แต่เห็นมีหลายเวอร์ชั่นมากเลย
ไม่รู้จะเริ่มจากไหนดี
A : ไปซื้อ Higurashi no Naku Koro ni Hou เวอร์ชั่น PS4/Nintendo Switch
มาเล่น มีครบทุกบท …จบ
Q : ถ้ามีแค่
PC ไม่มี PS4 หรือ Nintendo Switch จะทำยังไงดี
A : ไปซื้อ Higurashi no Naku Koro ni Hou เวอร์ชั่น PC มาเล่น แต่จะมีแค่ 14 บท(จากทั้งหมด 23 บท), ภาพยังเป็นลายเส้นอาจารย์
Ryuukishi07 อยู่ทั้งๆอย่างนั้น แล้วก็ไม่มีเสียงพากย์นะ
Q : อยากเล่น
Visual
Novel ซีรีย์
Higurashi
แต่อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก
ทำยังไงดี
A : ไปซื้อ Higurashi no Naku Koro ni Hou เวอร์ชั่น Steam มาเล่น แต่มีแค่ 8 บทและไม่มีเสียงพากย์นะ
Higurashi no Naku Koro ni เป็น Visual Novel ที่ได้รับความนิยมและมีหลายเวอร์ชั่นมาก
เริ่มจากการเป็น Doujin Game(เกมทำโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่ใช่บริษัท)ที่ค่อยๆออกมาทีละบทและทยอยวางขายในงาน
Comiket
แต่ละครั้ง
ต่อมาได้รับความนิยมจนมีการ port ไปลง PS2 เป็นภาค Matsuri, port ไปลง Nintendo DS เป็นภาค Kizuna, port ไปลง PS3/PS Vita เป็นภาค Sui และล่าสุดก็ port ไปลง PS4/Nindendo Switch เป็นภาค Hou แล้วในทุกๆครั้งที่มีการ port ไปลงเครื่องเกมอื่นในฐานะภาคใหม่ก็จะมีการเพิ่มเนื้อหาใหม่เข้าไปทีละน้อยโดยที่ยังคงเนื้อหาที่มีในภาคก่อนๆไว้ด้วย
ปัจจุบันเลยกลายเป็นเกมที่เล่น 100 ชั่วโมงก็ยังไม่จบไปเรียบร้อยแล้ว เพราะแบบนั้น ตามที่ได้เขียนไว้ด้านบน
หากต้องการเล่น Visual Novel ซีรีย์ Higurashi ขอแนะนำให้ซื้อภาค Hou เวอร์ชั่น PS4/Nintendo Switch มาเล่นเลยครับ มีครบทุกบท
ด้วยเหตุนี้ จุดประสงค์ของหน้านี้จึงต่างจากหน้า “Higurashi no Naku Koro ni ฉบับมังงะ” ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อแนะนำลำดับการอ่าน เพราะถึงจะไม่รู้จักซีรีย์ Higurashi มาก่อน ขอแค่ไปซื้อภาค Hou เวอร์ชั่น PS4/Nintendo Switch มาก็ได้เล่นครบทุกบท เลยไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติม จุดประสงค์ของหน้านี้จึงเป็นการไล่ประวัติความเป็นมาของซีรีย์ Higurashi ซะมากกว่าครับ ถ้าพร้อมจะชมประวัติความเป็นมาของซีรีย์ Higurashi แล้วก็ขอเชิญเลื่อนเมาส์ลงไปด้านล่างได้เลย
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に 鬼隠し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry - Abducted by Demons Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง บทปีศาจลักซ่อน
วันที่วางจำหน่าย : 10 สิงหาคม 2002 (งาน Comiket 62)
- เกมแรกสุดในซีรีย์ Higurashi และเป็นเกมบทแรกของภาคปริศนา
- ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 ก็เป็นคนวาดภาพเอง
- Onikakushi-hen นั้นจะเรียกว่าเป็นก้าวแรกสุดของ Higurashi no Naku Koroni ทั้งหมดเลยก็ว่าได้
ตอนที่ออกบูธในงาน Comiket 62
นั้นไม่ค่อยเป็นที่พูดถึงกันเท่าไร แต่พอเวลาผ่านไปก็ค่อยๆได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
จนเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทปีศาจลักซ่อน”
- Onikakushi-hen
ตัวอย่างภาพที่อาจารย์ Ryuukishi07 วาดเอง
อนึ่ง ภาพตัวอย่างไม่ได้นำภาพมาจากแค่ Onikakushi-hen เพียงอย่างเดียว
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に 綿流し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry - Cotton Drifting Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง บทลอยนุ่น
วันที่วางจำหน่าย : 29 ธันวาคม 2002 (งาน Comiket 63)
- เกมที่ 2 ในซีรีย์
Higurashi
และเป็นเกมบทที่
2 ของภาคปริศนา
- เช่นเดียวกับบทก่อนหน้า ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดภาพเอง
- มีเกมบทก่อนหน้าในภาคปริศนารวมอยู่ด้วย
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทสายใยสังหาร” และ “บทเทศกาลมรณะ”
- Watanagashi-hen
- Onikakushi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に 祟殺し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry - Curse Killing Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง บทสาปแช่งให้ตาย
วันที่วางจำหน่าย : 15 สิงหาคม 2003 (งาน Comiket 64)
- เกมที่ 3 ในซีรีย์
Higurashi
และเป็นเกมบทที่
3 ของภาคปริศนา
- เช่นเดียวกับบทก่อนๆ ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดภาพเอง
- มีเกมบทก่อนๆของภาคปริศนารวมอยู่ด้วย
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทคำสาปสั่งตาย” และ “บทคำสาปสังหาร”
- Tatarigoroshi-hen
บทเก่าที่มี
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に 暇潰し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry - Time Wasting Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง บทฆ่าเวลา
วันที่วางจำหน่าย : 13 สิงหาคม 2004 (งาน Comiket 66)
- เกมที่ 4 ในซีรีย์
Higurashi
และเป็นเกมบทสุดท้ายของภาคปริศนา
- เช่นเดียวกับบทก่อนๆ ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดภาพเอง
- มีเกมบทก่อนๆของภาคปริศนารวมอยู่ด้วย
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทข้ามเวลา” และ “บทฆ่าเวลา”
- Himatsubushi-hen
บทเก่าที่มี
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
Higurashi no Naku Koro ni Kai Meakashi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に解 目明し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Solution - Eye Opening Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคไขปริศนา บทนักสืบ
วันที่วางจำหน่าย : 30 ธันวาคม 2004 (งาน Comiket 67)
- เกมที่ 5 ในซีรีย์
Higurashi
และเป็นเกมบทแรกของ
Higurashi
no Naku Koro ni Kai
- ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 ก็เป็นคนวาดภาพเอง
- มีเนื้อเรื่อง
Otsukaresama-kai
(งานเลี้ยงขอบคุณปิดท้าย)
แถมมาด้วย
แต่ก็เฉพาะกับเกมเวอร์ชั่นที่วางขายในงาน Comiket 67 เท่านั้น เกมบท Tsumihoroboshi-hen, Minagoroshi-hen และ Matsuribayashi-hen ที่วางขายในงาน Comiket ครั้งต่อๆมานั้น
แม้จะมีบทก่อนๆรวมอยู่ด้วย แต่ก็ไม่มีเนื้อเรื่อง Otsukaresama-kai นี้ เนื้อเรื่อง Otsukaresama-kai เลยกลายเป็นของหายากสุดๆไป
- ในภายหลังเนื้อเรื่อง Otsukaresama-kai ได้รับการบรรจุลงไปในเกม Higurashi no Naku
Koro ni Rei โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Batsukoishi-hen
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทเบิกเนตร” และ “บทสืบคดี”
- Meakashi-hen
- Otsukaresama-kai (ภายหลังรู้จักกันในชื่อ Batsukoishi-hen)
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に解 罪滅し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Solution - Atonement Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคไขปริศนา บทชดใช้บาป
วันที่วางจำหน่าย : 14 สิงหาคม 2005 (งาน Comiket 68)
- เกมที่ 6 ในซีรีย์
Higurashi
และเป็นเกมบทที่
2 ของ Higurashi no Naku
Koro ni Kai
- เช่นเดียวกับบทก่อน ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดภาพเอง
- มีเกมบทก่อนหน้าใน
Higurashi
no Naku Koro ni Kai รวมอยู่ด้วย
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทไถ่บาป” และ “บทชดใช้บาป”
- Tsumihoroboshi-hen
บทเก่าที่มี
- Meakashi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に解 皆殺し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Solution - Massacre Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคไขปริศนา บทสังหารหมู่
วันที่วางจำหน่าย : 30 ธันวาคม 2005 (งาน Comiket 69)
- เกมที่ 7 ในซีรีย์
Higurashi
และเป็นเกมบทที่
3 ของ Higurashi no Naku
Koro ni Kai
- เช่นเดียวกับบทก่อนๆ ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดภาพเอง
- มีเกมบทก่อนๆของ
Higurashi
no Naku Koro ni Kai รวมอยู่ด้วย
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทสังหารหมู่”
- Minagoroshi-hen
บทเก่าที่มี
- Meakashi-hen
- Tsumihoroboshi-hen
Higurashi no Naku Koro ni Kai Matsuribayashi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に解 祭囃し編
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Solution - Festival Accompanying Chapter
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคไขปริศนา บทดนตรีงานเทศกาล
วันที่วางจำหน่าย : 13 สิงหาคม 2006 (งาน Comiket 70)
- เกมที่ 8 ในซีรีย์
Higurashi
และเป็นเกมบทสุดท้ายของ
Higurashi
no Naku Koro ni Kai
- Main Story ของซีรีย์ Higurashi จะจบบริบูรณ์ลงในบทนี้
- เช่นเดียวกับบทก่อนๆ ไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดภาพเอง
- มีเกมบทก่อนๆของ
Higurashi
no Naku Koro ni Kai รวมอยู่ด้วย
- ในประเทศไทย บทนี้รู้จักกันในชื่อ “บทร่วมเที่ยวงานเทศกาล” และ “บทสันนิบาตเทศกาล”
- Matsuribayashi-hen
บทเก่าที่มี
- Meakashi-hen
- Tsumihoroboshi-hen
- Minagoroshi-hen
Higurashi no Naku Koro ni Rei
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に礼
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Gratitudes
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคขอบคุณ
วันที่วางจำหน่าย : 31 ธันวาคม 2006 (งาน Comiket 71)
- Fandisc ขอบคุณแฟนๆที่คอยช่วยสนับสนุนซีรีย์ Higurashi ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา
- เกมไม่มีเสียงพากย์ และอาจารย์ Ryuukishi07 ก็เป็นคนวาดภาพเอง
- เนื้อเรื่อง Otsukaresama-kai (งานเลี้ยงขอบคุณปิดท้าย) ที่มีแถมมากับ Meakashi-hen และกลายเป็นของหายากสุดๆไปนั้น ก็ได้รับการใส่มาในภาค Rei นี้ด้วย โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Batsukoishi-hen
- Saikoroshi-hen
- Hirukowashi-hen
บทเก่าที่มี
- Batsukoishi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に祭
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Festival
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคงานเทศกาล
วันที่วางจำหน่าย : 22 กุมภาพันธ์ 2007
- เกมเวอร์ชั่น port ไปลง PS2 โดยค่าย Alchemist พร้อมกับวาด CG, Character Sprite, ฉากหลัง ฯลฯ ใหม่หมดให้สวยขึ้น (จากของเดิมที่อาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดเอง) และใส่เสียงพากย์ให้กับตัวละคร (จากที่เดิมทีไม่มีเสียง)
- รูปซ้ายคือเวอร์ชั่นธรรมดา
ส่วนรูปขวาคือ Limited Edition
- มีทุกบทที่มีใน Higurashi no Naku Koro ni และ Higurashi no Naku Koro ni Kai ยกเว้น Matsuribayashi-hen ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็น Miotsukushi-hen ที่เป็นฉากจบอีกแบบหนึ่งแทน
- Taraimawashi-hen
- Tsukiotoshi-hen
- Miotsukushi-hen
บทเก่าที่มี
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
- Himatsubushi-hen
- Meakashi-hen
- Tsumihoroboshi-hen
- Minagoroshi-hen
ตัวอย่างภาพที่ได้รับการปรับปรุงวาดใหม่ให้สวยขึ้น
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に祭 カケラ遊び
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Festival - Playing with the Pieces
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคงานเทศกาล เล่นกับชิ้นส่วน
วันที่วางจำหน่าย : 20 ธันวาคม 2007
- เป็น Higurashi no Naku Koro ni Matsuri เวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่ตามเสียงเรียกร้องของแฟนๆ
โดยในเวอร์ชั่นนี้จะมีการแก้ Interface ของเกมให้ text อ่านง่ายขึ้น, เพิ่มเนื้อเรื่องเล็กน้อย, ใส่เสียงพากย์แบบ Full Voice ให้กับเคอิจิ ฯลฯ
- รูปทางซ้ายคือแผ่นเสริมสำหรับคนที่เคยซื้อ Higurashi no Naku Koro ni Matsuri ไปแล้ว ส่วนรูปทางขวาเป็นแผ่น Standalone ที่เป็นเกมตัวเต็มสำหรับคนที่ยังไม่มี Higurashi no Naku Koro ni Matsuri
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に絆 第一巻・祟
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Bonds - Volume I “Curse”
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคสายสัมพันธ์ เล่มที่ 1 “คำสาป”
วันที่วางจำหน่าย : 26 มิถุนายน 2008
- เกมเวอร์ชั่น
port ไปลง Nintendo DS โดยค่าย Alchemist
- ในภาค Kizuna นี้ เกมจะแบ่งเป็น 4 ภาคย่อย ได้แก่ Tatari, Sou, Rasen และ Kizuna โดย Tatari จะเป็นภาคแรก และ Kizuna คือภาคสุดท้าย
-
ด้วยข้อจำกัดของปริมาณข้อมูลที่ตลับเกม Nintendo DS สามารถบรรจุได้ จึงมีเสียงพากย์แค่เฉพาะบางฉาก
- เนื้อเรื่องในมังงะ Onisarashi-hen ได้รับการนำมาเขียนใหม่เป็นหลายๆบทที่เพิ่มมาในภาค Kizuna เช่น Someutsushi-hen เป็นต้น
- Someutsushi-hen
บทเก่าที่มี
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
ในภาค Kizuna มีการแก้ไขภาพพวก Character Sprite เล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วภาพก็ไม่ต่างจากภาค
Matsuri
มากนัก (ถ้าไม่นับภาพที่เพิ่มเข้ามาใหม่น่ะนะ)
อนึ่ง ภาพตัวอย่างไม่ได้นำภาพมาจากแค่ Dai Ichi Kan - Tatari เพียงอย่างเดียว
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に絆 第二巻・想
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Bonds - Volume II “Idea”
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคสายสัมพันธ์ เล่มที่ 2 “คิดคำนึง”
วันที่วางจำหน่าย : 27 พฤศจิกายน 2008
- ภาคที่ 2 ของเกม
Higurashi
no Naku Koro ni Kizuna
- ตามที่บอกไปข้างต้น
ไม่ใช่ Full
Voice
- เป็นครั้งแรกที่มีการนำ Hirukowashi-hen ไปวาดใหม่หมดให้สวยขึ้น (จากของเดิมที่อาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดเอง)
บทเก่าที่มี
- Himatsubushi-hen
- Meakashi-hen
- Hirukowashi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に絆 第三巻・螺
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Bonds - Volume III “Spiral”
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคสายสัมพันธ์ เล่มที่ 3 “เกลียว”
วันที่วางจำหน่าย : 28 พฤษภาคม 2009
- ภาคที่ 3 ของเกม
Higurashi
no Naku Koro ni Kizuna
- ตามที่บอกไปข้างต้น
ไม่ใช่ Full
Voice
- Yoigoshi-hen ซึ่งเป็นบทใหม่ที่เพิ่มมานี้ คือการนำเอามังงะ Yoigoshi-hen มาเขียนแก้ไขเนื้อเรื่องใหม่
- Yoigoshi-hen
- Tokihogushi-hen
บทเก่าที่มี
- Tsumihoroboshi-hen
- Minagoroshi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に絆 第四巻・絆
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Bonds - Volume IV “Bonds”
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคสายสัมพันธ์ เล่มที่ 4 “สายสัมพันธ์”
วันที่วางจำหน่าย : 25 กุมภาพันธ์ 2010
- ภาคสุดท้ายของเกม Higurashi no Naku Koro ni Kizuna ซึ่งมาพร้อมกับเพลงเปิด Angelic bright สุดอลังการ (ชอบเพลงนี้มาก แม้จะผ่านไป 10 ปีแล้วนับจากที่เกมออก
เพลงนี้ก็ยังเป็นที่หนึ่งในใจผม)
- ตามที่บอกไปข้างต้น
ไม่ใช่ Full
Voice
- Miotsukushi-hen ได้รับการนำมาเขียนใหม่โดยแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 3 ส่วน เนื้อเรื่องส่วนแรกกับส่วนที่สามคือเนื้อเรื่อง
Miotsukushi-hen
ในภาค Matsuri ที่ได้รับการเขียนแก้ไขเนื้อเรื่องใหม่
ส่วนเนื้อเรื่องส่วนที่สองจะเป็นบทสรุปเรื่องราวของโทโมเอะกับนัตสึมิ
ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในภาค Kizuna
- เป็นครั้งแรกที่มีการนำ Matsuribayashi-hen, Saikoroshi-hen ไปวาดใหม่หมดให้สวยขึ้น (จากของเดิมที่อาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดเอง)
- Kotohogushi-hen
บทเก่าที่มี
- Matsuribayashi-hen
- Saikoroshi-hen
- Miotsukushi-hen
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に粋
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : ??? (คันจิ 粋 มีหลายความหมาย แต่ละที่เลยแปลไม่ตรงกัน)
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคแท้จริง (แปลแบบเดาความหมายคันจิ 粋)
วันที่วางจำหน่าย : 12 มีนาคม 2015
- เกมเวอร์ชั่น
port ไปลง PS3 กับ PS Vita โดยค่าย Kaga Create สามารถเซฟข้ามเครื่องกันได้ระหว่าง
PS3 กับ PS Vita
- เสียงพากย์กลายเป็นแบบ
Full
Voice (จากเดิมที่ในภาค Kizuna มีเสียงพากย์เพียงบางส่วน)
- มีทุกบทที่มีใน
Higurashi
no Naku Koro ni Kizuna แล้วยังเพิ่มเนื้อเรื่องบทใหม่คือ
Hajisarashi-hen
ซึ่งเดิมเป็นนิยายที่แถมมากับ
Limited
Edition ของเกม
Higurashi
no Naku Koro ni Matsuri
- นำเนื้อเรื่อง
Miotsukushi-hen
ของภาค Kizuna มาแบ่งเป็น 2 บทคือ Miotsukushi Omote-hen
(บททางน้ำแห้งขอด
เบื้องหน้า)
กับ Miotsukushi Ura-hen (บททางน้ำแห้งขอด เบื้องหลัง) โดยบทเบื้องหน้าจะตรงกับเนื้อเรื่อง Miotsukushi-hen ส่วนที่หนึ่งและสามของภาค
Kizuna
ส่วนบทเบื้องหลังจะตรงกับเนื้อเรื่อง Miotsukushi-hen ส่วนที่สองของภาค Kizuna
- ถ้าว่ากันตามจริงคือภาค Sui มีเนื้อเรื่องทั้งหมด 20 บทให้เล่น แต่เพราะทางค่ายเกมนับ Miotsukushi Omote-hen กับ Miotsukushi Ura-hen รวมกันเป็นบทเดียว จึงถือว่าภาค Sui มีทั้งหมด 19 บท
- Hajisarashi-hen
บทเก่าที่มี
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
- Himatsubushi-hen
- Meakashi-hen
- Tsumihoroboshi-hen
- Minagoroshi-hen
- Matsuribayashi-hen
- Saikoroshi-hen
- Hirukowashi-hen
- Taraimawashi-hen
- Tsukiotoshi-hen
- Miotsukushi Omote-hen
- Someutsushi-hen
- Kageboushi-hen
- Yoigoshi-hen
- Tokihogushi-hen
- Miotsukushi Ura-hen
- Kotohogushi-hen
ตัวอย่างภาพในเกมภาค Sui
Higurashi no Naku Koro ni Hou
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に奉
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Gift
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคบวงสรวง
วันที่วางจำหน่าย : ต่างกันไปตามเครื่องเกม
- เกมมีหลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่น PC วางจำหน่ายในงาน Comiket 86 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2014, เวอร์ชั่น Nintendo Switch วางจำหน่ายวันที่ 26 กรกฎาคม 2018, เวอร์ชั่น PS4 วางจำหน่ายวันที่ 24 มกราคม 2019
- เวอร์ชั่น PC ในรูปด้านซ้ายคือเวอร์ชั่นที่รวมเนื้อเรื่องบทต่างๆในเกม
Higurashi
no Naku Koro ni, Higurashi no Naku Koro ni Kai และ Higurashi no Naku
Koro ni Rei
พร้อมเพิ่มเนื้อเรื่องใหม่ไปอีก 3 บทได้แก่ Higurashi Outbreak, Kamikashimashi-hen และ Hinamizawa Teiryujo
(รวมคือมีทั้งหมด
14 บท)
โดยลายเส้นจะยังคงเป็นของอาจารย์ Ryukishi07 อยู่อย่างนั้นและไม่มีเสียงพากย์
- เวอร์ชั่น PS4/Nintendo Switch ในรูปด้านขวาคือเวอร์ชั่นที่ port มาลงเครื่อง Nintendo Switch และ PS4 โดย Entergram ในเวอร์ชั่นนี้ ภาพจะมีความสวยงาม, มีเสียงพากย์แบบ Full Voice และมีเนื้อเรื่องทุกบทที่มีใน
Higurashi
no Naku Koro ni Sui พร้อมเพิ่มเนื้อเรื่องใหม่อีก 4 บทคือ Higurashi Outbreak, Kamikashimashi-hen, Hinamizawa
Teiryujo และ
Batsukoishi-hen
(รวมคือมีทั้งหมด
23 บท)
- เนื้อเรื่องบท Higurashi Outbreak ที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้นเดิมเป็นเรื่องสั้นที่แถมมากับ Sound Track ของเกม Higurashi Daybreak และในปี 2013 ก็เคยได้รับการนำไปทำเป็นอนิเมะ Higurashi no Naku
Koro ni Kaku (แต่ดันทำไม่จบซะนี่)
- เนื้อเรื่อง Kamikashimashi-hen ที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้นเป็นตอนต่อและตอนจบของ
Higurashi
Outbreak
- ส่วน Hinamizawa Teiryujo คือต้นแบบก่อนจะมาเป็น Higurashi no Naku Koro ni ซึ่งอาจารย์ Ryukishi07 ได้เขียนเนื้อเรื่องไว้ในปี
2000 และเพราะว่าไม่ใช่ Higurashi no Naku Koro ni แต่เป็นตัวต้นแบบ พล็อตเรื่องกับตัวละครจึงต่างกันออกไป
เช่น ริกะเป็นนักเรียนมัธยมปลายตัวสูง มิองเป็นรุ่นน้องของริกะ เป็นต้น
- สำหรับ
Batsukoishi-hen นั้นถือเป็นครั้งแรกที่ได้รับการนำไปลงเครื่องเกมอื่นที่ไม่ใช่
PC และยังเป็นครั้งแรกที่ได้รับการนำไปวาดใหม่หมดให้สวยขึ้นด้วย
(จากของเดิมที่อาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดเอง)
- ถ้าว่ากันตามจริงคือใน Higurashi no Naku Koro ni Hou เวอร์ชั่น PS4/Nintendo Switch มีเนื้อเรื่องทั้งหมด 24 บทให้เล่น แต่เพราะทางค่ายเกมนับ Miotsukushi Omote-hen กับ Miotsukushi Ura-hen รวมกันเป็นบทเดียว จึงถือว่ามีทั้งหมด 23 บท
- Higurashi Outbreak
- Kamikashimashi-hen
- Hinamizawa Teiryujo
บทเก่าที่มีทั้งในเวอร์ชั่น PC และเวอร์ชั่น PS4/Nintendo Switch
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
- Himatsubushi-hen
- Meakashi-hen
- Tsumihoroboshi-hen
- Minagoroshi-hen
- Matsuribayashi-hen
- Saikoroshi-hen
- Batsukoishi-hen
- Hirukowashi-hen
บทเก่าที่มีเฉพาะในเวอร์ชั่น PS4/Nintendo Switch
- Taraimawashi-hen
- Tsukiotoshi-hen
- Miotsukushi Omote-hen
- Someutsushi-hen
- Kageboushi-hen
- Yoigoshi-hen
- Tokihogushi-hen
- Miotsukushi Ura-hen
- Kotohogushi-hen
- Hajisarashi-hen
ตัวอย่างภาพในเกมภาค Hou บนเครื่อง PS4/Nintendo Switch
นอกเหนือจากการ port ไปลงเครื่องเกมอื่นพร้อมเพิ่มเนื้อหาในฐานะภาคใหม่ซึ่งได้อธิบายไว้ข้างบนแล้ว ซีรีย์ Higurashi ยังมีการทำเป็นเวอร์ชั่นอื่นๆโดยไม่ได้มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ด้วย ดังด้านล่าง
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : 掌でひぐらしがなく
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : The Cicadas Cry On the Palm
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : เหล่าจักจั่นร่ำร้องบนฝ่ามือ
วันที่วางจำหน่าย : 7 กุมภาพันธ์ 2005
- เป็นการนำ Himatsubushi-hen ที่วางขายในงาน Comiket 66 ไป port ลง Game Boy Advance
- ไม่มีเนื้อหาใหม่
-----
บทเก่าที่มี
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
- Himatsubushi-hen
เวอร์ชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
- เกมซีรีย์
Higurashi
no Naku Koro ni (เวอร์ชั่นงาน Comiket) เคยได้รับการ port ไปลงโทรศัพท์มือถือหลายครั้ง
โดยหลายๆเจ้า เช่น Taito, DWANGO, SEAMS ฯลฯ ซึ่งบางเจ้าก็ทำถึงแค่ Higurashi no Naku
Koro ni ภาคปริศนากับ
Higurashi
no Naku Koro ni Kai แต่บางเจ้าก็ทำถึง Higurashi no Naku
Koro ni Rei
ด้วย
- แน่นอนว่าลายเส้นยังคงเป็นของที่อาจารย์ Ryuukishi07 วาดเอง และไม่มีเสียงพากย์
- เนื่องจากมีหลายเจ้า
จึงเป็นเรื่องยากที่จะไล่อธิบายได้ครบทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะเวอร์ชั่นที่พัฒนาโดย
SEAMS กับเวอร์ชั่นที่พัฒนาโดย
DWANGO
ซึ่งมีจุดเด่นที่เห็นว่าควรกล่าวถึงเป็นพิเศษ
- เวอร์ชั่นพัฒนาโดย
SEAMS เมื่อปี 2010 - 2012 น่าจะเป็นเวอร์ชั่นเดียวที่รองรับกับระบบ
Android และ iOS ได้ในตอนนี้
- เวอร์ชั่นพัฒนาโดย DWANGO ซึ่งออกมาเมื่อปี 2007 มีเนื้อเรื่องพิเศษที่เขียนบทโดยอาจารย์ Ryuukishi07 คือ Niesagashi-hen (บทหาเครื่องสังเวย) และ Kokorokuzushi-hen (บททำลายจิตใจ)
รูปขวา : Kokorokuzushi-hen
เกมเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ
Higurashi When They Cry
Higurashi When They Cry Kai
- เกมเวอร์ชั่นที่ทาง
MangaGamer
นำเกม Higurashi เวอร์ชั่นงาน Comiket ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
- ทยอยแปลออกมาในช่วงปี 2009 - 2011
- แน่นอนว่าลายเส้นยังคงเป็นของที่อาจารย์ Ryuukishi07 วาดเอง และไม่มีเสียงพากย์
- ปัจจุบันไม่มีแล้ว เพราะย้ายไปขายบน Steam แทนในชื่อ Higurashi When They Cry Hou ซึ่งเวอร์ชั่น Steam นั้นมีการใช้ engine ตัวใหม่, วาด Character Sprite ใหม่ และแปลใหม่หมด จึงเรียกได้ว่าดีกว่าในทุกๆด้าน
-----
บทเก่าที่มี (Higurashi When They Cry)
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
- Himatsubushi-hen
บทเก่าที่มี (Higurashi When They Cry Kai)
- Meakashi-hen
- Tsumihoroboshi-hen
- Minagoroshi-hen
- Matsuribayashi-hen
ภาพตัวอย่าง
เกมเวอร์ชั่น Steam
Higurashi When They Cry Hou
- เกมเวอร์ชั่นที่ทาง
MangaGamer
นำเกม Higurashi เวอร์ชั่นงาน Comiket ไปแปลภาษาอังกฤษลง Steam โดยแปลใหม่ทั้งหมด (ของเดิมที่แปลไว้คือปี 2009-2011)
- มีการวาด
Character
Sprite ใหม่ให้สวยขึ้นด้วย
(จากของเดิมที่อาจารย์ Ryuukishi07 เป็นคนวาดเอง)
ส่วนภาพอย่างอื่นนอกเหนือจากนั้นเหมือนเดิม
และแน่นอนว่าไม่มีเสียงพากย์
- ขณะเล่นสามารถสลับระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาญี่ปุ่นได้ และยังสามารถสลับระหว่าง
Character
Sprite แบบใหม่กับแบบเก่าได้อีกด้วย
- เกมค่อยๆทยอยออกมาทีละบท
โดย Onikakushi-hen ออกมาเมื่อปี 2015 และล่าสุดในปี 2020 ที่ผ่านมา Matsuribayashi-hen ก็ได้ออกวางจำหน่ายบน Steam เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งหมายความว่าเนื้อเรื่องหลักของซีรีย์
Higurashi
ได้รับการแปลเสร็จหมดแล้วนั่นเอง
- สามารถเล่น Onikakushi-hen ได้ฟรี ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ ส่วนบทอื่นๆนั้นขายแบบแยกบท แต่ก็สามารถซื้อแบบมัดรวม bundle ได้ด้วย
-----
บทเก่าที่มี
- Onikakushi-hen
- Watanagashi-hen
- Tatarigoroshi-hen
- Himatsubushi-hen
- Meakashi-hen
- Tsumihoroboshi-hen
- Minagoroshi-hen
- Matsuribayashi-hen
รูปบน : แสดง Text เป็นภาษาอังกฤษ
รูปล่าง : แสดง Text เป็นภาษาญี่ปุ่น
รูปบน : Character Sprite แบบใหม่
รูปล่าง : Character Sprite แบบเก่า
เนื่องจาก Higurashi no Naku Koro ni เป็นที่นิยม เลยได้รับการนำไปทำเป็นเกมต่างๆมากมาย มีตั้งแต่เกมแอคชั่น เกมกาชา ไปยันตู้ปาจิงโกะ ในที่นี้จึงขอยกเพียงบางส่วนมาเป็นตัวอย่าง แล้วเนื่องจากเกมเหล่านี้ไม่ใช่ Visual Novel จึงไม่ขอลงลึกรายละเอียดอะไรมาก
Higurashi Daybreak
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしデイブレイク
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : Higurashi Daybreak
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : Higurashi Daybreak
วันที่วางจำหน่าย : 13 สิงหาคม 2006 (งาน Comiket 70)
- Doujin Game สำหรับเครื่อง PC ที่พัฒนาโดย Twilight Frontier เป็นเกมแนวแอคชั่นแบบเล่นได้หลายคน
- ภายหลังมี
Higurashi
Daybreak Kai เป็นแผ่นเสริมออกมาด้วย และต่อมาก็ได้รับการนำไปทำเป็นเกม PSP ในชื่อ Higurashi Daybreak
Portable กับ
Higurashi
Daybreak Portable MEGA EDITION ตามลำดับ โดยมีการเพิ่มเติมเนื้อหาและวาดภาพใหม่ให้สวยขึ้น
- บท
Hirukowashi-hen ของเกม Higurashi no Naku
Koro ni Rei
คือการนำเนื้อเรื่องในเกม Higurashi Daybreak ไปปรับปรุงเขียนใหม่เป็น Visual Novel
- เรื่องสั้น Higurashi Outbreak ที่มากับ Original Sound Track (วางขายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2007) ภายหลังได้รับการนำไปเขียนเป็น Visual Novel ในเกม Higurashi no Naku Koro ni Hou
ภาพตัวอย่าง
Higurashi no Naku Koro ni Jan
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に 雀
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Mahjong
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคไพ่นกกระจอก
วันที่วางจำหน่าย : 12 พฤศจิกายน 2009
- เกมไพ่นกกระจอกบน
PSP
- เป็นที่มาของมังงะ Higurashi no Naku Koro ni Jan
ภาพตัวอย่าง
Higurashi no Naku Koro ni Mei
ชื่อภาษาญี่ปุ่น : ひぐらしのなく頃に 命
ชื่อภาษาอังกฤษ (non-official) : When the Cicadas Cry : Life
ชื่อแบบแปลตรงจากภาษาญี่ปุ่น : ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ภาคชีวิต (แปลแบบเดาความหมายคันจิ 命)
วันที่วางจำหน่าย : 3 กันยายน 2020
- เกมกาชาบนมือถือ
อนึ่ง ภาพตัวอย่างทั้งหมดนำมาจากหน้าเว็บของ Google Play
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น